การออกแบบกราฟฟิก

ความหมายการออกแบบ
มีผู้นิยามความหมายของการออกแบบไว้หลายแนวทางดังนี้การออกแบบ คือ กระบวนการสร้างสรรค์ประเภทหนึ่งของมนุษย์ โดยมีทัศนธาตุและลักษณะของทัศน
ธาตุเป็นองค์ประกอบ ใช้ทฤษฎีต่างๆ เป็นแนวทางและใช้วัสดุนานาชนิดเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ โดยที่นักออกแบบจะต้องมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานหลายขั้นตอนตลอดกระบวนการสร้างสรรค์นั้น
การออกแบบ คือ การวางแผนสร้างรูปแบบ โดยวางแผนจัดส่วนประกอบของการออกแบบ ให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย วัสดุ และการผลิตสิ่งของที่ต้องการออกแบบนั้น ได้สรุปขอบเขตของการออกแบบเป็น 2 แนวทางดังนี้
1. เป็นคำนาม หมายถึง ผลงานหรือผลิตผลที่เกิดขึ้นจากทั้ง 2 กระบวนการคือ
กระบวนการออกแบบซึ่งยังอยู่ในรูปของแนวความคิด แบบร่างตลอดจนต้นแบบ และกระบวน
การผลิตซึ่งอยู่ในรูปของผลผลิตที่เป็นวัตถุสิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ
2. เป็นคำกริยา หมายถึง กระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดเป็นผลผลิตที่กล่าวถึง
ในข้อ 1 นั่นเอง
ดังนั้นจึงขอสรุปความหมายของการออกแบบได้ว่า การออกแบบ คือ กระบวนการ
ทำงานของมนุษย์ที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดสิ่งใหม่
อาจเป็นรูปแบบสองมิติหรือสามมิติ โดยกระบวนการทำงานนั้นมีการวางแผนในรูปของ
แนวความคิด และปฏิบัติการตามขั้นตอนที่ได้วางแผนนั้นออกมาเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อสนองตอบ
ความต้องการของตนเองและคนในสังคม
การแบ่งประเภทของงานออกแบบ
                งานออกแบบเป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับวัตถุ ดังนั้นงานออกแบบจึงไม่อาจทำได้เพียงเพื่อความต้องการส่วนตนแต่จะต้องคำนึงถึงความต้องการขอผู้อื่นและสภาพแวดล้อมด้วย สภาพแวดล้อมในที่นี้คือสภาพวัตถุ วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในสังคม ซึ่งอาจแบ่งประเภทของงานออกแบบกว้างๆ ได้เป็น 3 ประเภท คือ 
1. งานออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย
เป็นงานออกแบบที่เน้นประโยชน์ใช้สอยหรือประโยชน์ทางกายเป็นหลักมีคุณค่าทางความงามเป็นตัวผลักดันให้งานออกแบบน่าสนใจ น่าใช้สอย ได้แก่ งานหัตถกรรมเป็นงานที่ทำด้วยมือมีคุณค่าด้านความงาม แต่ก็มีประโยชน์ใช้สอย งานออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งปัจจุบันมีสภาพเป็นเครื่องไฟฟ้าและเครื่องจักรกลประกอบไว้ด้วย ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้งานออกแบบต้องเกี่ยวข้องกับกลไกที่สลับซับซ้อน ดังนั้นผู้ออกแบบจำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะด้าน
2. งานออกแบบเพื่อการติดต่อสื่อสาร
เป็นงานที่เน้นการสื่อสารด้วยภาษาและภาพที่เป็นสากล สามารถรับรู้ร่วมกันอาจเป็นงานพิมพ์หรือไม่ก็ได้ จุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ในทางความรู้ ความเข้าใจ การชี้ชวนหรือเรียกร้อง ได้แก่ งานออกแบบสิ่งพิมพ์ งานออกแบบโฆษณา งานออกแบบพาณิชยศิลป์งานออกแบบสัญลักษณ์และเครื่องหมาย งานออกแบบเพื่อการสื่อสารเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะด้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาชุมชน ทั้งทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
3. งานออกแบบเพื่อคุณค่าทางความงาม
เป็นงานออกแบบที่มีเป้าหมายเฉพาะตัว เน้นผลงานทางด้านอารมณ์สะเทือนใจ ความรู้สึกสัมผัสในความงาม และคุณค่าทัศนคติได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรมสถาปัตยกรรม และภาพพิมพ์ ซึ่งเป็นงานวิจิตรศิลป์ ผู้ออกแบบจะต้องได้รับการฝึกฝนมีความเชื่อและลักษณะเฉพาะตัว สามารถออกแบบให้สัมพันธ์ กันทั้งรูปแบบและเนื้อหา
งานออกแบบโดยทั่วไปแล้ว ประโยชน์และความงามย่อมหมายถึงคุณค่าในทางดีงาม แต่บางครั้งงานออกแบบก็อาจกระตุ้นให้เกิดความต้องการ เกิดความฟุ้งเฟ้อเห็นแก่ตัว บิดเบือนความจริง ผิดศีลธรรมจรรยามารยาท อันเป็นวิถีทางที่ไม่ถูกไม่ควรในสังคมในทางตรงกันข้าม หากงานออกแบบชักนำไปสู่ความดีงาม เช่น การช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน เชิญชวนให้เกิดความรัก ความร่วมมือ แสดงเอกลักษณ์ของชาติ งานออกแบบที่โน้มนำสังคมไปสู่สิ่งดีงามเช่นนั้นย่อมเป็นงานออกแบบที่มีคุณค่า 
การออกแบบที่ดี คือ การแสดงออกซึ่งรูปแบบที่ดีที่สุดจากสาระของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเพื่อข่าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ การออกแบบที่มีประสิทธิภาพนั้นนักออกแบบจะต้องมองการณ์ไกลถึงสิ่งที่ดีที่สุดทางด้านรูปแบบ การผลิต การส่งหรือการสื่อสารการนำไปใช้ รวมทั้งความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์ต้องไม่พิจารณาเพียงเฉพาะความงาม แต่จะต้องตระหนักถึงประโยชน์และรสนิยมตามช่วงเวลาที่ต้องการ 

แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบ

                1. คิดแบบค้นพบ (Discovery) เป็นการคิดที่ไอเดียใหม่ (Original Idea) หรือทฤษฎีใหม่ เช่น การค้นพบ ทฤษฎีแรงดึงดูดของโลกของ เซอร์ไอแซค นิวตัน หรือทฤษฎีสมดุลยภาพของ จอห์น แนช ซึ่งเป็นเรื่องยากที่คนทั่วไป จะคิดได้
                2. คิดเชิงนวัตกรร(Innovative ) เป็นการคิดประยุกต์ที่นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาผนวกให้เกิดคุณค่าใน การแก้ปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น การประดิษฐ์ทวีขึ้นมา โดยนำหลักการเดินทางของคลื่นมาประยุกต์เป็นสิ่งประดิษฐ์
                3. คิดเชิงสังเคราะห์ใหม่ (Synthesis) เป็นความคิดที่นำสิ่งที่มีอยู่เดิมมารวบรวม หรือ ยำ ให้เกิดความ คิดที่สร้างเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมา
                4. คิดแบบดัดแปลง (Mutation) เป็นการนำปัญหาที่มีอยู่มาผนวกกับสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้วเกิดการปรับ เปลี่ยน คุณสมบัติของสิ่งที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นขนาด รูปร่าง รูปทรง เช่น ความคิดที่ จะนำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านมาพกติดตัว เลยปรับขนาดกลายมาเป็นพ็อกเก็ตพีซี (Pocker PC) ในปัจจุบัน ในการออกแบบกราฟิกนั้นจะต้องใช้ความคิดในข้อที่ 3 และข้อที่ 4 มากที่สุด โดยความคิดที่ว่านี้จะใช้ในการคิดและผลิตงานออกแบบออกมาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
   บรรทัดฐานในการออกแบบ
                1. การตอบสนองประโยชน์ใช้สอย (Function) เป็นข้อสำคัญมากในการออกแบบทั้งหมด ในงานออกแบบ กราฟิกนั้น ประโยชน์ใช้สอยมีอิทธิพลกับงานที่เราออกแบบ เช่น งานออกแบบหนังสือ ต้องอ่านง่าย ตัวหนังสือชัดเจนไม่วาง เกะกะ กันไปซะหมด หรืองานออกแบบเว็บไซต์ถึงจะสวยอย่างไร แต่ถ้าโหลดช้าทำให้ผู้ใช้งานต้องรอนาน ก็ไม่นับว่าเป็นงาน ออกแบบเว็บไซต์ที่ดี หรืองานออกแบบซีดีรอม ถ้าปุ่มที่มีไว้สำหรับกดไปยังส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหานั้นวางเรียงอย่าง กระจัดกระจาย ทุกครั้งที่ผ้าใช้งานจะใช้ก็ต้องกวาดตามองหาอยู่ตลอด อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นการออกแบบที่ไม่สนอง ต่อประโยชน์ใช้สอย เป็นงานออกแบบไม่ดี ดังนั้นนักออกแบบจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก ในการออกแบบเสมอ
                2. ความสวยงามพึงพอใจ (Aesthetic) ในงานที่มีประโยชน์ใช้สอยดีพอ ๆ กัน ความงามจะเป็นเกณฑ์ตัดสิน คุณค่าของงาน โดยเฉพาะงานออกแบบกราฟิก ซึ่งถือเป็นงานอกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยน้อยกว่างานออกแบบด้านอื่น อย่าง งานออกแบบผลิตภัณฑ์ งานออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ฯลฯ ความสวยงามจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีอิทธิพลในงาน ออกแบบกราฟิกอย่างมาก
                3. การสื่อความหมาย (Meaning ) เนื่องจากงานศิลปะนั้นจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมันสื่อความหมายออกมาได้ งาน กราฟิกก็คืองานศิลปะเช่นกัน การสื่อความหมายจึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบขาดเสียไม่ได้ในการออกแบบ ต่อให้งานที่ได้สวยงาม อย่างไรแต่ไม่สามารถตอบโจทย์ของงานออกแบบ หรือสื่อสิ่งที่ผู้ออกแบบคิดเอาไว้ได้ งานกราฟิกนั้นก็จะมีคุณค่าลดน้อย ลงไป
    ขบวนการทำงานออกแบบ
                1. วิเคราะห์โจทย์ ที่มีมาให้แก้ไข (Program Analysis) จุดเริ่มต้นของงานออกแบบ คือ ปัญหา เมื่อมีปัญหา มีโจทย์ จึงมีการออกแบบแก้ไขซึ่งโจทย์ที่ว่านั้นมีความยากง่าย ต่างกันแล้วแต่ชนิดของงาน แต่โจทย์ไม่มีทางออกแบบได้ ถ้าปราศจากการวิเคราะห์หลัก ๆ สำหรับโจทย์งานกราฟิกมักจะ เป็นดังนี้ What เราจะทำงานอะไร ? กำหนดเป้าหมายของงานที่จะทำ ซึ่งเป็นเรื่องเบื้องต้นในการออกแบบที่เราจะต้อง รู้ก่อนว่า จะกำหนดให้งานของเราบอกอะไร (Inform) เช่นเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ บอกทฤษฎี หรือหลักการ เพื่อความบันเทิง เป็นต้น Where งานของเราจะนำไปใช้ที่ไหน ? เช่น งานออกแบบผนังร้านหนังสือที่สยามสแควร์ที่เต็มไปด้วยร้านค้า แหล่งวัยรุ่น คงต้องมีสีสันฉูดฉาดสะดุดตามากกว่าร้านแถวสีลมซึ่งสถานที่ในเขตคนทำงาน ซึ่งมีอายุมากขึ้น Who ใครคือคนที่มาใช้งาน ? หรือกลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมาย (User Target Group) เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการ วิเคราะห์โจทย์เพื่อการออกแบบ เพราะผู้ใช้งานเป้าหมายอาจเป็นตัวกำหนดแนวความคิดและรูปลักษณ์ของงานออกแบบ ได้ เช่น งานออกแบบโปสเตอร์สำหรับผู้ใหญ่ เราต้องออกแบบโดยใช้สีจำนวนไม่มากไม่ฉูดฉาด และต้องใช้ตัวอักษรที่มี ขนาดใหญ่ รวมถึงการจัดวางอย่างเรียบง่ายมากกว่าผู้ใช้ในวัยอื่น ๆ How แล้วจะทำงานชิ้นนี้อย่างไร ? การคิดวิเคราะห์ในขึ้นสุดท้ายนี้อาจจะยากสักหน่อยแต่เป็นการคิดที่รวบรวม การวิเคราะห์ที่มีมาทั้งหมดกลั่นออกมาเป็นแนวทาง
.                2. สร้างแนวคิดหลักในการออกแบบให้ได้ (Conceptual Design) งานที่ดีต้องมีแนวความคิด (Concept) แต่ไม่ได้หมายความว่างานที่ไม่มีแนวความคิดจะเป็นงานที่ไม่ดีเสมอไป งานบางงานไม่ได้มีแนวความคิด แต่เป็นงานออกแบบที่ตอบสนองต่อกฎเกณฑ์การออกแบบ (Design Criteria) ที่มี อยู่ก็เป็นงานที่ดีได้เช่นกัน เพียงแต่ถ้าลองเอางานที่ดีมาว่างเทียบกัน 2 ชิ้น อาจจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างอะไรมากมายนัก ในตอนแรก แต่เมื่อเรารู้ว่างานชิ้นที่หนึ่งมีแนวความคิดที่ดี ในขณะที่อีกชิ้นหนึ่งไม่มี งานชิ้นที่มีแนวความคิดจะดูมีคุณค่า สูงขึ้นจนเราเกิดความรู้สึกแตกต่าง
                3. ศึกษางานหรือกรณีตัวอย่างที่มีอยู่แล้ว (Case Study) การศึกษากรณีตัวอย่าง เป็นการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของงานที่มีอยู่แล้ว เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ออกแบบในงานต่อไป ดังนั้นการทำกรณีศึกษานับเป็นเรื่องสำคัญมากทีเดียวในงานออกแบบ เพราะเปรียบเสมือนตัวชี้แนะหนทางในการออกแบบ หรือแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ต่อไป แต่จงระวังว่าอย่าไปติดกับรูปแบบที่ชื่นชอบมาก เพราะอาจจะทำให้ติดกับกรอบ ความคิดติดกับภาพที่เห็นจนบางครั้งไม่สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ออกมาได้ ซึ่งการติดรูปแบบหรือภาพมากเกินไป นี้เอง อาจจะซึมซับมาสู่งานต่อไป จนกลายเป็นการตบแบบหรือลอกแบบชาวบ้านนั่นเอง
                4. งานออกแบบร่าง (Preliminary Design) การออกแบบร่างเป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนมักมองข้าม การออกแบบร่าง คือ การออกแบบร่างเอาแนวความคิดที่มี ออกมาตีความเป็นแบบ ซึ่งส่วนใหญ่เวลาทำงานมักจะต้องสเก็ตงานด้วยมือออกมาเป็นแบบร่างก่อน เพราะการสเก็ตจากมือ คือการถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในสมอง ให้เห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมออกมาแบบเป็นรูปธรรม ความคิดออกมาจากสมองกลายเป็นสิ่งที่ เห็นได้จับต้องได้บนกระดาษ การสเก็ตด้วยมืออาจไม่ได้สวยอะไรมาก แต่ทำให้สามารถเข้าใจได้คนเดียวหรือเพื่อนที่ ร่วมงานเข้าใจร่วมกันได้ ซึ่งสิ่งที่สเก็ตนี้ถือว่าแบบร่างที่จะนำไปทำต่อไป
                5. ออกแบบจริง (Design) การออกแบบจริงนั้นเป็นการพัฒนาจากแบบร่างที่มีอยู่ ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วที่จะนำไปผลิตต่อไป แล้วแต่คามถนัด ของคนออกแบบแต่ละคน ซึ่งอาจจะเป็นการใช้ Freehand หรือนำไปออกแบบในโปรแกรมที่ตนถนัด ไม่ว่าจะเป็น Photoshop IIIustrator Coreldraw ฯลฯ
หลักเกณฑ์การออกแบบ
       -     ส่วนสัด
-          ความสมดุล
-          ความแตกต่าง
-          ลีลา
-          ความมีเอกภาพ
-          ความผสมกลมกลืน
-          การจัดวางรูปร่าง

การใช้ภาพประกอบ
         -           การใช้ภาพตัดตก
         -           ขนาดของภาพ
         -           การบังภาพ
         -           การคัดเลือกภาพ/การจัดเรียงภาพ
         -           การจัดภาพขนาดเล็กให้รวมเป็นกลุ่มให้รวมเป็นกลุ่ม
         -           การเร้าความสนใจ/ทำให้ภาพมีความต่อเนื่อง
         -           ทำให้ส่วนสำคัญของภาพเป็นที่น่าสนใจ/ใช้คำอธิบายประกอบภาพ
การใช้สีในการพิมพ์
         -           การใช้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
         -           ความแตกต่างระหว่างการพิมพ์ภาพสี่สีกับการพิมพ์ที่สองพิพม์ขึ้น
         -           การเลือกใช้สี
         -           เทคนิคการใช้สีหลายสีโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อย
การออกแบบภาพโฆษณาในปัจจุบันการนำเสนอข่าวสารหรือภาพประกอบประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จะต้องมีการความหมายกันทุกรูป การสื่อสารด้วยภาพนี้จะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ การถ่ายภาพจะแสวงหากลยุทธ์ นวัตกรรมใหม่ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการส่งสัญญาณให้ประสบผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของผู้ผลิตหรือสาร ในเวลาเดียวกันต้องการเป็นผู้นำในผลิตสื่อหลายประเภทด้วย เหนือสิ่งอื่นใดการต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ การมีวิสัยทรรศในการใช้วิธีการ ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจของการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว การผลิตสื่อที่มีความเที่ยงตรง  ภาพมีความเท็จจริง ซึ่งมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรในการป้อนวัตถุสื่อเป็นอย่างยิ่ง มีลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างไปจากงานอื่นๆ ฉะนั้นการถ่ายภาพที่ดีจึงมีขอบเขตกว้าง มีองค์ประกอบและปัจจัยอื่นๆซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและถูกต้องกับสถานการณ์ของการถ่ายภาพประเภท เพื่อเป็นแนวทางที่จะทำให้การทำงานในระบบสื่อสารมวลชนมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

องค์ประกอบของการออกแบบภาพโฆษณา
      องค์ประกอบของการออกแบบภาพโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การจัดวางภาพ(Layout) และการออกแบบ (Design) ที่มีหลักในการออกแบบคือ
-          กำหนดลำดับ (Impose Order) เพื่อให้จดจำและรับรู้ได้ง่าย
-          ชี้นำสายตา (Guide the eye) ในประเทศทางตะวันตก ผู้อ่านมักจะอ่านจากบนลงล่าง จาก
ซ้ายไปขวา ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า Gutenburg Diagonal ดังนั้นควรจะจัดวางให้ผู้อ่านดูได้ง่าย
-          เน้นส่วนสำคัญ (Emphasize the important) ว่าจะเน้นส่วนพาดหัวหรือภาพให้เป็นจุดเด่น
-          สร้างเอกภาพ (Create Unity) องค์ประกอบต่างๆจะต้องเชื่อมโยงลงตัวเป็นหนึ่งเดียว
สอดคล้องกับข้อความที่ต้องการสื่อไปยังผู้บริโภค
-          จัดแนวองค์ประกอบ (Align elements) เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในชิ้นงานพาดหัว
จะต้องนำไปสู่เนื้อหา ดังนั้นพาดหัวควรเป็นอยู่เหนือข้อความโฆษณาและภาพที่อยู่ในกลุ่มอื่นๆควรมีการจัดกลุ่ม
-          จัดการกับพื้นที่ว่าง (Manage the white space) พื้นที่ว่างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรสามารถ
ใช้เป็นกรอบแยกองค์ประกอบที่ไม่ได้อยู่กลุ่มเดียวกันเป็น 2 กลุ่ม
-          ใช้ความต่างสร้างจุดเด่น (Use contrast to stand out) ความต่างทำให้องค์ประกอบแยกจาก
กันและชี้ให้เห็นความสำคัญ
-          คานน้ำหนักภาพ (Balance the visual weights) การวางภาพให้สมดุล ไม่ให้หนักไปด้านใด
ด้านหนึ่ง
-          ใช้สัดส่วนที่น่าพอใจ (Use the pleasing proportions) การแบ่งส่วนที่เท่ากันจะทำให้ขาด
ความน่าสนใจเพราะดูเรียบเกินไป แต่ภาพ 2 ภาพที่มีขนาดเท่ากันจะแข่งกันดึงดูดความสนใจ
-          ทำให้ดูง่าย (Simplify) หรือยิ่งน้อยยิ่งดี โดยทั่วไปยิ่งมีองค์ประกอบต่างๆมากในการจัดวาง
ภาพ ผลกระทบต่อผู้อ่านก็จะมีน้อยลง
-          -การใช้สี (Coloring) เพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างความสมจริง
-          การใช้ตัวอักษร (Typography) ว่าจะเลือกใช้ตัวใหญ่ ตัวหนาหรือแบบอักษรที่เหมาะสม

การออกแบบกราฟิก
การออกแบบกราฟิกเป็นการเรียนรู้และใช้ทักษะด้านการออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารรอบตัวที่มองเห็นด้วยสายตา ไม่ว่าจะเป็นเชิงการออกแบบวัฒนธรรมหรือการออกแบบการสื่อสารต่างๆที่ต้องการการออกแบบเพื่อให้ได้ผลที่สมบูรณ์ที่สุด ผ่านแนวความคิด ส่วนที่เห็นปกติก็พวกออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น โปสเตอร์ หนังสือ มากมายรอบๆตัวแล้วจะพบว่าออกแบบนิเทศศิลป์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง การออกแบบสัญลักษณ์จราจร ป้ายโฆษณาตามท้องถนน ป้ายอาคาร หรือตามงานนิทรรศการ กราฟิกในงานภาพนิ่ง ภาพยนตร์ วีดีโอ การสร้างภาพประกอบ และการออกแบบโฆษณา ฯลฯ เป็นการประยุกต์ใช้ศิลปะให้สอดคล้องกับการออกแบบ ด้วยหลักการทฤษฎีและกลวิธีการต่างๆ
ความหมายของกราฟิก
ความหมาย "กราฟิก" (Graphic) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการขูด ขีด เขียนบันทึก ภาพ ด้วยวัสดุ และสี มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้นวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใดๆ ที่แสดงความต้องการสื่อสารความคิดอย่าง โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ(Diagram) ภาพสเก็ต (Sketch) หรือแผนสถิติ (Graph) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง (Title) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิแผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนประเภทต่างๆ ภาพสเก็ตช์ สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวข้อเท็จ/จริงต่างๆได้ ปัจจุบันการออกแบบกราฟิก หันมาใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบมากขึ้น
ภาพกราฟิก (Graphic) เป็นภาพนิ่งชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตรายการจัดทำขึ้น อาจนำมาจากการวาดภาพลงบนกระดาษ/วัสดุต่างๆ หรือจัดทำขึ้นมาจากคอมพิวเตอร์ เป็นภาพนิ่ง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหวก็ได้ก็ได้ เช่นสัญลักษณ์หน่วยงาน (Logo) ชื่อเรื่อง (Title) ชื่อคน ชื่อสถานที่ เวลา กราฟสถิติ ในบางครั้งผู้ผลิตรายการต้องการ
ทำเทคนิคพิเศษต่างๆ เพื่อตกแต่งภาพให้ดูสมจริงยิ่งขึ้น เช่น การระเบิดของอาคาร ซึ่งผู้ผลิตรายการไม่สามารถจะระเบิดตัวอาคารจริงๆได้ จำเป็นต้องใช้เทคนิคภาพกราฟิกเข้ามาช่วย
คอมพิวเตอร์กราฟิก
ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟิก หรือ Computer Graphic ได้มีผู้สรุปความหมายไว้คล้ายคลึงกันหลาย
ความหมาย ดังต่อไปนี้
สมพัฒน์ รุ่งตะวันเรืองศรี (2537 : 12) ได้กล่าวถึงความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิกว่า
คอมพิวเตอร์กราฟิกเป็นคำที_หมายถึง การสร้างและการจัดการกับภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์
คำจำกัดความสั้นๆ นี้ไม่ได้อธิบายถึงเหตุผลของการพัฒนาคอมพิวเตอร์กราฟิ ก ซึ่งเริ่มต้นมาจาก
การเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการแสดง ข้อมูลตัวเลขจำนวนมากๆ ให้อยู่ในรูปที่ชัดเจนกว่าเดิมและ
ทำความเข้าใจง่ายกว่าเดิม เช่น ข้อมูลอาจแสดงได้ในรูปของ เส้นกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ แทนที่จะ
เป็นตารางของตัวเลข จากนั้นการใช้ภาพกราฟิ กแสดงผลแทนข้อมูลหรือข่าวสารที่ยุ่งยากก็มีการ
พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ  จนในปัจจุบันมีการใช้ภาพกราฟิ กในงานทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านธุรกิจ
โรงงานอุตสาหกรรม งานศิลปะ งานด้านการบันเทิง งานโฆษณา งานด้านการศึกษา การวิจัย การ
ฝึ กอบรมและงานทางการแพทย์ เห็นได้ว่าสาขาวิชาทางคอมพิวเตอร์กราฟิกนั้นเริ่มมีความสำคัญ
มากขึ้นเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยงานได้เป็นอย่างมาก
ฐัศแก้ว ศรีสด (2540:16) ได้กล่าวถึงความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิกไว้ว่าคอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การนำเครื_องคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื_องมือในการแสดงความคิดให้เกิดเป็นรูปภาพ แผนภาพ แผนภูมิ รวมถึงการสร้างและการจัดการทุกรูปแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์
ไพศาล โมลิสกุลมงคล (2550 : 2)แได้กล่าวถึงความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิกว่า
คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphic) หรือเรียกย่อๆ ว่า ซีจี c(CG) คือการประมวลผลข้อมูลด้วย
คอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ต่างๆแ แล้วแสดงผลลัพธ์ทาง
จอภาพเป็นข้อมูลเชิงเรขาคณิต เช่นc รูปทรง สีสัน ลวดลาย หรือลักษณะแสงเงา รวมถึงข้อมูลอื่นๆ
ของภาพ เช่น ข้อมูลการเคลื่อนไหว cการเปลี่ยนแปลง ลักษณะการเชื่อมต่อ และความสัมพันธ์
ระหว่างวัตถุในภาพ รวมถึงการศึกษาด้านระบบในการแสดงภาพ ทั้งสถาปัตยกรรมของเครื่องc
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง หรืออุปกรณ์ในการนำเข้า และแสดงผล ปัจจุบันมีการประยุกต์c
คอมพิวเตอร์กราฟิกใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การแสดงภาพเคลื่อนไหวในงานภาพยนตร์
เกม สื่อประสมภาพและเสียงหรือระบบสร้างภาพเสมือนจริง (Virtural Reality) เป็นต้น
จากการศึกษาความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิกดังที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า
คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการภาพกราฟิก โดยข้อมูล
เข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ต่างๆ แล้วแสดงผลลัพธ์ทางจอภาพเป็นข้อมูล
เชิงเรขาคณิต เช่น รูปทรง สีสัน ลวดลาย หรือลักษณะแสงเงา

โปรแกรมทางด้านกราฟิกสำหรับสิ่งพิมพ์
                โปรแกรมGraphic ส่วนมากแล้วจะเกี่ยวกับทางด้านงานออกแบบ เขียนแบบวาดภาพ จัดทำ  สิ่งพิมพ์และจะเป็นทางด้านการนำเสนองานสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานโฆษณาในปัจจุบัน  โปรแกรมกลุ่มนี้เป็นที่นิยมมาก
โปรแกรม Adobe Photoshop
Photoshop   หมายถึง โปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการภาพหรืองานกราฟฟิกที่ต้องการความละเอียดสูง  เพื่อสร้างสรรค์เเละตกเเต่งภาพให้เกิดความสวยงามมีการจัดระบบความละเอียดของงานเป็นแบบ Rester Graphic    ภาพที่อยู่ในโปรแกรมนั้น จะแบ่งความละเอียดของภาพออกเป็นตารางสี่เหลี่ยม    ซึ่งในแต่ละช่องหรือ   Pixel  จะแน่นอน หากทำการย่อหรือขยายภาพจะทำให้ความละเอียดของภาพเปลี่ยนไปโดยเฉพาะการขยายขนาดของภาพจะทำให้ความละเอียด   หรือความคมชัดของภาพลดลง     เนื่องจากอัตราความละเอียดของแต่ละช่องจะเท่าเดิม   แต่เนื้อที่กลับถูกขยายให้ใหญ่ขึ้น
Photoshop เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งภาพ ปรับแต่งรูปภาพ ความคมชัดลึกของภาพ การปรับภาพให้คมชัดหรือพร่ามัว การปรับแต่งสีภายในภาพ การใช้ประโยชน์จากเลเยอร์ การสร้างภาพพื้นผิวแบบต่างๆ รวมไปถึงการใช้ฟิลเตอร์เพื่อปรับแต่งภาพหรือปรับขนาดภาพได้ตามความต้องการเพื่อดูสวยงาม
Adobe  Photoshop  เป็นโปรแกรมสร้างและแก้ไขรูปภาพอย่างมืออาชีพ    ประกอบไปด้วยเครื่องมือมากมาย  เพื่อสนับสนุนการสร้างงานประเภทสิ่งพิมพ์ งานวิดิทัศน์ งานนำเสนองานมัลติมีเดีย  ตลอดจนงานออกแบบ
โปรแกรม Adobe Illustrator
Illustrator   คือ   โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นหรือเวกเตอร์   และยังสามารถรวมภาพกราฟฟิกที่แตกต่างกันระหว่างเวกเตอร์และบิตแม็พ ให้เป็นงานกราฟฟิกที่มีทั้งภาพเป็นเส้นที่คมชัดและมีเอฟเฟกต์สีสันสวยงามหรือมีความแปลกใหม่ร่วมกันได้
                                Illustrator  ให้เราสามารถสร้างภาพโดยเริ่มต้นจากหน้ากระดาษเปล่า    เหมือนจิตรกรที่เขียนภาพลงบนผืนผ้าใบ  ซึ่งใน Illustrator จะมีทั้งพู่กัน ดินสอ และอุปกรณ์การวาดอื่น ๆ   ที่สามารถทำได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์
                Illustrator  สามารถสร้างงานได้มากมาย  ดังต่อไปนี้
-    งานสิ่งพิมพ์   ได้แก่  งานโฆษณา โบร์ชัวร์ นามบัตร หนังสือ หรือนิตยสาร  ซึ่งถือได้ว่าเกือบทุกสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความคมชัดเลยทีเดียว
-    งานออกแบบทางกราฟฟิก   การสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือ การออกแบบสกรีน CD-ROM  และการออกแบบการ์ดอวยพร  ฯลฯ
-    งานทางด้านการ์ตูน   ในการสร้างภาพการ์ตูนต่าง ๆ นั้น  Illustrator ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยในการวาดรูปได้เป็นอย่างดี
-    งานเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต   ใช้สร้างภาพตกแต่งเว็บไซต์  ไม่ว่าจะเป็น Background หรือปุ่มตอบโต้  แถบหัวเรื่อง  ตลอดจนภาพประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏบนหน้าเว็บ

โปรแกรมAdobe InDesign
โปรแกรม Adobe InDesign เป็นโปรแกรมสำหรับงานด้านสิ่งพิมพ์ งานออกแบบเอกสาร  หรือเรียกกันง่ายๆว่า โปรแกรมจัดหน้ากระดาษ ซึ่งการทำงานด้วยโปรแกรม Adobe InDesign นั้นถือได้ว่าเป็นโปรแกรมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงานสิ่งพิมพ์ เป็นโปรแกรมที่ยืดหยุ่นที่สุดสำหรับการควบคุมเรื่องการจัดการสี  
ระบบการทำงานของโปรแกรม InDesign นั้น ต้องมีความรู้พื้นฐานของ Photoshop และ illustrator ด้วย เพราะคุณต้องมีการเตรียมรูปภาพจาก Photoshop และเตรียมคลิปอาร์ต หรือ Logo ต่างๆ มาจาก illustrator ส่วนข้อความคุณสามารถเตรียมมาจาก โปรแกรมประเภท Word Prospering แล้วเราจึงนำมาประกอบรวมกันเป็นหนังสือ หรือแผ่นพับต่างๆ ใน InDesign เสร็จแล้วเราจึง Export ไฟล์งานของเรานั้นเป็นไฟล์ PDFX1-a หรือ PDFX-3 เพื่อส่งโรงพิมพ์ ทางโรงพิมพ์ก็จะทำ Digital Poof ส่งกลับมาให้เราตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนจะทำเพลท และส่งให้โรงพิมพ์ต่อไป

รูปแบบไพล์กราฟิค
   GIF (Graphic Interchange Format) รูป แบบไฟล์GIFได้รับการออกแบบโดย
CompuServeซึ่งเป็นระบบเครือข่ายข่าวสารแบบอ อนไลน์ เพื่อให้ บริการแลกเปลี่ยนกราฟิกในรูปแบบ bitmapที่มีการจัดการทางด้านหน่วยความจำที่มีประสิทธิภาพ ข้อจำกัดของภาพแบบ GIF คือ ความสามารถทางด้านสีซึ่งเป็นแผงสีแบบอินเด็กซ์ (ภาพสีแบบ 24 บิตไม่สามารถใช้ได้) แผงสีสามารถบรรจุได้ 2 ถึง 256 สี ซึ่งถูกสร้างจากข้อมูลสี 24 บิต ไฟล์แบบ GIF ถูกบีบขนาดโดยใช้การบีบขนาด LZW แบบประยุกต์ การขยายไฟล์ข้อมูลแบบ GIF กลับคืน จะช้ากว่าการบีบขนาดแบบ RLE แต่จะเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำน้อยกว่า
                JPEG (Joint Photographic Experts Group) มาตรฐาน การบีบขนาดแบบ JPEG ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใดๆ โดยเฉพาะ แต่ได้นำเสนอ วิธีการบีบขนาดที่สามารถใช้ทั่วๆ ไปหลายวิธี ดังนั้นจึงมีการบีบขนาดหลายวิธีที่เกิดขึ้นมา โดยใช้มาตรฐานการบีบ ขนาดแบบ JPEG การบีบขนาดด้วยวิธีนี้ช่วยลดขนาดของภาพกราฟิกและประหยัดเวลาในการโหลดได้มาก เหลือเพียง หนึ่งในสิบของภาพเดิม และบางครั้งสามารถลดขนาดลงได้มากถึง 100 ต่อ 1 JPEG เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในภาพประเภทภาพถ่าย (โทนสีต่อเนื่อง) เนื่องจากใช้สีทั้งสเปกตรัมสี ที่มีในมอนิเตอร์ และเป็นไฟล์ประเภทที่ถูกบีบอัดให้เล็กลงเพื่อให้โหลดเร็วขึ้นเช่นเดียวกับ GIF โดยการตัดค่าสี ในช่วงที่ ตามองไม่เห็นทิ้งไป แต่เมื่อบันทึกไฟล์เป็น JPEG แล้ว ข้อมูลสีที่ถูกตัดทิ้งไปจะไม่สามารถเรียกกลับมาได้อีก ถ้าต้องการ ใช้ค่าสีเหล่านั้นในอนาคต ควรจะบันทึกเป็นไฟล์ชนิดอื่น แล้วเปลี่ยนเป็นไฟล์ JPEG ด้วยการบันทึกเป็นไฟล์ก็อปปี้

กราฟิคสำหรับงานพิมพ์
                TIFF (Tagged Image File Format)TIFF เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับ bitmap เท่านั้น พัฒนาขึ้นโดยความร่วมของ Aldus Corporation และ Microsoft TIFF เก็บบันทึกข้อมูลรูปภาพได้หลากหลายใน Tagged Field จึงกลายเป็นชื่อเรียกของรูปแบบไฟล์ ซึ่งแต่ละ Tagged Field สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ bitmap หรือชี้ไปยัง Field อื่นได้ ซอฟต์แวร์ที่อ่านไฟล์นี้ สามารถข้ามการอ่าน Field ที่ไม่เข้าใจหรือไม่จำเป็นไปได้
                EPS (Encapsulated PostScript) .EPS เป็นเซตย่อยของภาษาสั่งการในการจัดหน้าแบบ PostScript ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้อย่างแพร่หลายในการ แลกเปลี่ยนรูปแบบภาพกราฟิก ไฟล์แบบ EPS สามารถบรรจุภาพที่ซับซ้อนและมีรายละเอียดอย่างสูงทั้งในรูปแบบ Vector และ Bitmap โดยใส่ไว้ในโปรแกรมการแก้ไข Vector และโปรแกรม Desktop Publishing กราฟิกแบบ EPS มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ จะต้องพิมพ์ออกในเครื่องพิมพ์แบบ PostScript เท่านั้น เพราะเครื่องพิมพ์ ไม่สามารถแปลรหัสการพิมพ์ PostScript ได้